เป็นโปรแกรมกรอกข้อมูลยาเสพติดในสถานศึกษา และกำลังพลที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานยาเสพติดในสถานศึกษา เพื่อทราบถึงกิจกรรมที่ ร.ร.ดำเนินการในด้านยาเสพติด
การเรียกใช้ระบบทะเบียนกำลังพล
สามารถเรียกใช้ ได้ 3 ช่องทาง คือ
1.      Address  http://hr.nccd.go.th  หรือ
2.      Address  http://www.nccd.go.th เลือกเมนูหลัก ระบบกำลังพลปีงบประมาณ 2551
3.      Link จากระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด Narcotics Information System for Province Agency (NISPA) แล้วเลือกเมนูตามรูป


 กำลังพลประเภทที่ 1 กำลังพลที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดตามโครงสร้างแบ่งส่วนราชการ  ที่มีกฎหมายรองรับ  หมายถึง กำลังพลที่อยู่ในโครงสร้าง ตามกฎหมายการแบ่งส่วนราชการให้มีหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในปัจจุบันมีหน่วยงานที่มีการจัดส่วนราชการตามกฎหมาย อาทิเช่น

          1.1 กระทรวงยุติธรรม  
                   1) สำนักงาน ป.ป.ส.
                   2) กรมคุมประพฤติ (         )
                   3) กรมราชทัณฑ์    (         )
          1.2 กระทรวงสาธารณสุข
                   1) กรมการแพทย์   (  สถาบันธัญญรักษ์ และศูนย์บำบัดฯอีก 5 ศูนย์ )
                   2) กรมสุขภาพจิต  (    )
                   3) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กองวัตถุเสพติด)
            1.3 สำนักนายกรัฐมนตรี /อิสระ
                   1) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1)
                   2) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด)
                      3) สำนักงานอัยการสูงสุด (กองคดียาเสพติด)


กำลังพลประเภทที่ 2 กำลังพลที่ถึงแม้ไม่มีการแบ่งส่วนราชการอย่างชัดเจน แต่มีภารกิจหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดด้านใดด้านหนึ่งเป็นภารกิจเดียวหรือภารกิจหลัก ทั้งตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ และตามการสั่งการ และมีระยะเวลาปฏิบัติงานด้านยาเสพติดมากกว่า 6 เดือนของปีงบประมาณเดียวกันอาทิเช่น
          2.1 ข้าราชการของรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.ตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ 2519
          2.2 ข้าราชการของรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติ      มาตรการฯ 2534
          2.3 ชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด และชุดปฏิบัติการข่าว ในระดับต่างๆของสำนักงาน    ตำรวจแห่งชาติ
          2.4 ชุดปฏิบัติงานสัมพันธ์มวลชนแก้ไขปัญหายาเสพติด ของ กอ.รมน.
          2.5 ฝ่ายอำนวยการ ศตส.ระดับต่างๆ ทั้งกระทรวง/กรม/จังหวัด และที่ต่ำกว่าจังหวัด ที่มีเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานช่วยราชการเต็มเวลา
          2.6 กำลังพลจากหน่วยราชการต่างๆ ที่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดภายใต้แผนพิเศษต่างๆที่มีห้วงเวลามากกว่า 6 เดือนในปีงบประมาณ
          2.7 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในศูนย์วิวัฒน์พลเมืองที่ปฏิบัติงานเกินกว่า 6 เดือน
          2.8 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการด้านบำบัดรักษายาเสพติดในโรงพยาบาลระดับต่างๆ สถานีอนามัย

กำลังพลประเภทที่ 3 กำลังพลที่ปฏิบัติงานราชการโดยมีคำสั่งของหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเพิ่มเติมอีกภารกิจหนึ่งตามนโยบายของรัฐบาลแต่มีภารกิจปฏิบัติประจำอยู่แล้วซึ่งอาจจะเป็นคำสั่งเป็นชุดปฏิบัติการ หรือเป็นบุคคลก็ได้ อาทิเช่น
          3.1 ชุดจัดระเบียบสังคม (ในกรณีที่ไม่ซ้ำกับประเภทที่ 2)
          3.2 ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยต้นสังกัดให้ทำหน้าที่ด้านยาเสพติดในลักษณะของงานอำนวยการ ประสานงาน ทั้งในส่วนกลาง ภาค จังหวัด และอำเภอ
          3.3 ฝ่ายอำนวยการ ศตส.ระดับต่างๆที่มาปฏิบัติงานบางเวลา
            3.4 พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ที่ปฏิบัติงานทั้งการสอบสวนคดีอาญาและยาเสพติด)
          3.5 กำลังทหารที่ปฏิบัติงานสกัดกั้นตามแนวชายแดน (ทำหน้าที่ทั้งการสกัดกั้นยาเสพติดและป้องกันอธิปไตยของชาติ)
          3.6 กำลังตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจน้ำตำรวจทางหลวง       (ในส่วนที่ทำการสกัดกั้น)
          3.7 ข้าราชการครู ในส่วนที่ทำหน้าที่ที่เอื้อในการป้องกัน (ไม่ใช่ครูทุกคน) เช่น ครูฝ่ายปกครอง ครูที่เกี่ยวกับงานลูกเสือ เป็นต้น

---------------------




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทความ ดีๆ